เมนู

ไม่มีความรังเกียจในมิตร นอนอยู่อย่าง
ปลอดภัย เหมือนบุตรนอนแอบอกมารดา
ฉะนั้น ผู้นั้นนับว่าเป็นมิตรแท้.

จบ วรรณาโรหชาดกที่ 1

อรรถกถาวรรณาโรหวรรคที่ 2


อรรถกถาวรรณาโรหชาดกที่ 1


พระศาสดาเมื่ออาศัยพระนครสาวัตถีประทับอยู่ ณ พระวิหาร-
เชตวัน ทรงปรารภพระเถระอัครสาวกทั้งสอง จึงตรัสพระธรรม-
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า วณฺณาโรเหน ดังนี้.
ได้ยินว่า สมัยหนึ่ง พระมหาเถระทั้งสองคิดกันว่า พวกเรา
จักพอกพูนการอยู่ป่าตลอดภายในพรรษานี้ จึงทูลลาพระศาสดา แล้ว
ละหมู่คณะ ถือบาตรจีวรด้วยตนเอง ออกจากพระเชตวัน อาศัย
ปัจจันตคามแห่งหนึ่งอยู่ในป่า. บุรุษกินเดนแม้คนหนึ่ง ทำการอุปัฏ-
ฐากพระเถระทั้งสองอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งในป่านั้นนั่นแหละ บุรุษนั้น
เห็นการอยู่อย่างพร้อมเพรียงของพระเถระทั้งสอง จึงคิดว่า พระเถระ
ทั้งสองนั้นอยู่พร้อมเพรียงกันเหลือเกิน เราอาจไหมหนอที่จะทำลาย
พระเถระเหล่านี้ให้แตกกันและกัน จึงเข้าไปหาพระสารีบุตรเถระแล้ว
ถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านมีเวรอะไร ๆ กับพระมหาโมคคัลลานเถระผู้
เป็นเจ้าหรือหนอ ? พระสารีบุตรเถระถามว่า ก็เวรอะไรเล่า ? ผู้มีอายุ.

บุรุษนั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ในเวลาที่กระผมมา พระมหาโมค-
คัลลานเถระนี้ กล่าวแต่โทษของท่านเท่านั้นว่า ชื่อว่าพระสารีบุตร
จะพออะไรกับเรา โดยชาติ โคตร ตระกูล และประเทศก็ตาม โดย
สุตตะและคันถะก็ตาม หรือโดยปฏิเวธและอิทธิฤทธิ์ก็ตาม. พระเถระ
ทำการแย้มหัวแล้วกล่าวว่า อาวุโส ท่านไปเสียเถอะ. ในวันแม้อื่น
บุรุษนั้นเข้าไปหาพระโมคคัลลานเถระบ้าง แล้วก็กล่าวเหมือนอย่าง
นั้นแหละ. ฝ่ายพระมหาโมคคัลลานเถระก็กระทำการแย้มหัวแล้ว
กล่าวกะบุรุษนั้นว่า ท่านไปเสียเถอะ ผู้มีอายุ. แล้วจึงเข้าไปหาพระ-
สารีบุตรเถระถามว่า ท่านผู้มีอายุ คนกินเดนนั้นกล่าวอะไร ๆ ใน
สำนักของท่าน. พระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ เขากล่าวแม้กับ
ผม ควรนำคนกินเดนนั้นออกไปเสีย เมื่อพระมหาโมคคัลลานเถระ
กล่าวว่า ดีละท่านผู้มีอายุ ท่านจงนำออกไปเสีย พระเถระจึงดีดนิ้วมือ
อันเป็นเหตุให้รู้ว่า ท่านอย่าอยู่ที่นี้ แล้วนำเขาออกไป. พระเถระ
ทั้งสองนั้นอยู่อย่างสมัครสมานกัน แล้วไปยังสำนักของพระศาสดา
ถวายบังคมแล้วจึงนั่งอยู่. พระศาสดาทรงกระทำปฏิสันถารแล้วตรัส
ถามว่า เธอทั้งสองอยู่ตลอดพรรษาโดยสบายหรือ ? เมื่อพระเถระทั้ง-
สองกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนกินเดนคนหนึ่งเป็นผู้ประ-
สงค์จะทำลายพวกข้าพระองค์ เมื่อไม่อาจทำลาย จึงหนีไป. พระองค์
จึงตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร มิใช่บัดนี้เท่านั้นที่เขาไม่อาจทำลาย แม้
ในกาลก่อน คนกินเดนนี้ก็คิดว่า จักทำลายพวกเธอ เมื่อไม่อาจ

ทำลายก็ได้หนีไปแล้ว อันพระเถระทั้งสองนั้นทูลอาราธนาแล้ว จึง
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นรุกขเทวดาอยู่ในป่า. ครั้งนั้น ราชสีห์
กับเสือโคร่งอยู่กันในถ้ำแห่งภูเขาในป่า. สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งอุปัฏฐาก
สัตว์ทั้งสองนั้น กินเดนของสัตว์ทั้งสองนั้น. จนมีร่างกายใหญ่โต
วันหนึ่ง คิดว่า เราไม่เคยกินเนื้อของราชสีห์และเสือโคร่ง เราควร
จะทำให้สัตว์ทั้งสองนี้ให้แตกกัน แต่นั้น เราจักกินเนื้อของสัตว์ทั้ง-
สองนั้นที่ตายเพราะทะเลาะกัน. สุนัขจิ้งจอกนั้นจึงเข้าไปหาราชสีห์
แล้วถามว่า ข้าแต่นาย ท่านมีเวรอะไร ๆ กับเสือโคร่งหรือ ? ราชสีห์
กล่าวว่า เวรอะไรเล่าสหาย. สุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ในตอน
ที่ข้าพเจ้ามาเสือโคร่งนั้นกล่าวแต่โทษของท่านเท่านั้นแหละว่า ขึ้น
ชื่อว่าราชสีห์ย่อมไม่ถึงส่วนแห่งเสี้ยวของเรา โดยผิวพรรณแห่งร่าง-
กายก็ตาม โดยลักษณะสูงใหญ่ก็ตาม หรือโดยชาติกำลัง และความ
เพียรก็ตาม. ราชสีห์กล่าวว่า จะไปเสียเถอะเจ้า เสือโคร่งนั้นคงจัก
ไม่กล่าวอย่างนั้น. แม้เสือโคร่งสุนัขจิ้งจอกก็เข้าไปหาแล้วก็กล่าวโดย
อุบายนั้นเหมือนกัน. เสือโคร่งได้ฟังดังนั้น จึงเข้าไปหาราชสีห์แล้ว
กล่าวว่า สหาย ได้ยินว่า ท่านพูดอย่างนี้และอย่างนี้ เมื่อจะถามจึง
กล่าวคาถาที่ 1 ว่า :-
ท่านผู้มีเขี้ยวงามกล่าวว่า เสือโคร่งชื่อว่า

สุพาหุนี้ มีวรรณะ ลักษณะ ชาติ กำลังกาย
และกำลังความเพียร ไม่ประเสริฐไปกว่าเรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พลนิกฺกมเนน จ ความว่า มี
กำลังกาย และกำลังความเพียร. บทว่า สุพาหุ น มยา เสยฺโย
ความว่า ได้ยินว่า ท่านพระยาเนื้อผู้ประกอบด้วยเขี้ยวทั้งหลายงดงาม
ชื่อว่าผู้มีเขี้ยวงาม กล่าวอย่างนี้จริงหรือว่า เสือโคร่งชื่อว่าสุพาหุนี้
ไม่แม้นเหมือน คือไม่ยิ่งไปกว่าเราด้วยเหตุเหล่านี้ .
ราชสีห์ได้ฟังดังนั้นจึงได้กล่าว 4 คาถาที่เหลือว่า :-
เสือโคร่งชื่อสุพาหุกล่าวว่า ราชสีห์ผู้มี
เขี้ยวงาม มีวรรณะ ลักษณะ ชาติ กำลังกาย
และกำลังความเพียร ไม่ประเสริฐไปกว่าเรา.
แน่ะเพื่อนสุพาหุ ถ้าท่านจะประทุษร้าย
เราผู้อยู่กับท่านอย่างนี้ บัดนี้ เราก็จะไม่พึง
ยินดีอยู่ร่วมกับท่านต่อไป.
ผู้ใดเชื่อคำของคนอื่นโดยถือเป็นจริง
เป็นจัง ผู้นั้นต้องพลันแตกจากมิตร และ
ต้องประสบเวรเป็นอันมาก.
ผู้ใดระมัดระวังอยู่ทุกขณะ มุ่งความ
แตกร้าว คอยแต่จับผิด ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็น

มิตร ส่วนผู้ใดอันผู้อื่นยุให้แตกกันไม่ได้ ไม่
มีความรังเกียจในมิตร นอนอยู่อย่างปลอด-
ภัยเหมือนบุตรุนอนแอบอกมารดาฉะนั้น ผู้
นั้นนับว่าเป็นมิตรแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺม แปลว่า เพื่อน. บทว่า
ทุพฺภสิ ความว่า ถ้าท่านเชื่อถือถ้อยคำของสุนัขจิ้งจอกแล้วประทุษ-
ร้าย คือปรารถนาจะฆ่าเราผู้อยู่อย่างพร้อมเพรียงกับท่านอย่างนี้ไซร้
จำเดิมแต่บัดนี้ไป เราจะไม่พึงยินดีอยู่กับท่าน. บทว่า ยถาตถํ ความ
ว่า พึงเธอคำอารยชนผู้ไม่กล่าวให้คลาดเคลื่อนกล่าวแล้วตามความ
เป็นจริง คือตามความจริงความแท้. อธิบายว่า ผู้ใดพึงเชื่อคำของคน
อื่นคนใดคนหนึ่ง ด้วยประการอย่างนี้. บทว่า โย สทา อปฺป-
มตฺโต
ความว่า ผู้ใดเป็นผู้ไม่ประมาทระมัดระวังเป็นนิจ ไม่ให้ความ
คุ้นเคยแก่มิตร ผู้นั้นไม่ชื่อว่ามิตร. บทว่า เภทาสงฺกี ความว่า
ย่อมหวังแต่ความแตกร้าวของมิตรอยู่อย่างนี้ว่า จักแตกกันวันนี้ จัก
แตกกันพรุ่งนี้. บทว่า รนฺธเมวานุปสฺสี ได้แก่ มองเห็นแต่ช่อง
บกพร่องเท่านั้น. บทว่า อุรสีว ปุตฺโต ความว่า เป็นผู้ไม่รังเกียจ
ในมิตร เป็นผู้ปลอดภัยนอนอยู่ เหมือนบุตรนอนที่หทัยของมารดา
ฉะนั้น.
เมื่อราชสีห์กล่าวคุณของมิตรด้วยคาถาทั้ง 4 คาถานี้ด้วยประ-

การฉะนี้ เสือโคร่งกล่าวว่า โทษผิดของข้าพเจ้า แล้วขอษมาราชสีห์.
สัตว์ทั้งสองนั้นได้อยู่พร้อมเพรียงกันเหมือนอย่างเดิม ส่วนสุนัขจิ้ง-
ได้หนีไปอยู่ที่อื่นแล.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง
ประชุมชาดกว่า สุนัขจิ้งจอกในกาลนั้น ได้เป็นคนกินเดน ราชสีห์
ในกาลนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร เสือโคร่งในกาลนั้น ได้เป็นพระ-
โมคคัลลานะ ส่วนรุกขเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในป่านั้นเห็นเหตุการณ์นั้น
โดยจัดแจ้ง ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถา วรรณาโรหชาดกที่ 1

2. สีลวีมังสชาดก


ผู้ประพฤติธรรมย่อมเป็นผู้เสมอกัน


[758] ข้าพระองค์มีความสงสัยว่า ศีลประเสริฐ
หรือสุตะ ประเสริฐศีลนี่แหละประเสริฐกว่า
สุตะ ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยเเล้ว.
[759] ชาติและวรรณะเป็นของเปล่า ได้สดับ
มาว่า ศีลเท่านั้นประเสริฐที่สุด บุคคลผู้ไม่
ประกอบด้วยศีล ย่อมไม่ได้ประโยชน์เพราะ
สุตะ.
[760] กษัตริย์และแพศย์ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ไม่
อาศัยธรรม ชนทั้งสองนั้นละโลกนี้ไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงทุคติ.
[761] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร์ คน
จัณฑาล และคนเทหยากเยื่อ ประพฤติธรรม
ในธรรมวินัยนี้แล้วย่อมเป็นผู้เสมอกันในไตร
ทิพย์.
[762] เวท ชาติ แม้พวกพ้อง ก็ไม่สามารถ
จะให้อิสริยยศ หรือความสุขในภพหน้าได้